เมนู

7. ธาตุสูตร


ว่าด้วยเรื่องนิพพานธาตุ 2 ประการ


[222] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ
มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิพพานธาตุ 2 ประการนี้ 2 ประการเป็นไฉน
คือ สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ 1 อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ก็สอุปาทิเสสนิพพานธาตุเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันตขีณาสพ
อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว มีประโยชน์
ของตนอันบรรลุแล้ว มีสังโยชน์ในภพนี้สิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้
โดยชอบ ภิกษุนั้น ย่อมเสวยอารมณ์ทั้งที่พึงใจและไม่พึงใจ ยังเสวยสุขและทุกข์
อยู่ เพราะความที่อินทรีย์ 5 เหล่าใดเป็นธรรมชาติไม่บุบสลาย อินทรีย์ 5
เหล่านั้นของเธอยังตั้งอยู่นั่นเทียว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นไปแห่งราคะ
ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ ของภิกษุนั้น นี้เราเรียกว่า
สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อนุปาทิเสสนิพพานธาตุเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่
ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว มีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้ว มี
สังโยชน์ในภพสิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ เวทนาทั้งปวงใน
อัตภาพนี้แหละของภิกษุนั้น เป็นธรรมชาติอันกิเลสทั้งหลายมีตัณหาเป็นต้นให้
เพลิดเพลินมิได้แล้ว จักเย็น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่าอนุปาทิเสส-
นิพพานธาตุ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิพพานธาตุ 2 ประการนี้แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
นิพพานธาตุ 2 ประการนี้ พระ-
ตถาคต ผู้มีจักษุผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่-
อาศัยแล้ว ผู้คงที่ประกาศไว้แล้ว อัน
นิพพานธาตุอย่างหนึ่งมีในปัจจุบันนี้ ชื่อว่า
สอุปาทิเสสะ เพราะสิ้นตัณหาเครื่องนำไป
สู่ภพ ส่วนนิพพานธาตุ (อีกอย่างหนึ่ง)
เป็นที่ดับสนิทแห่งภพทั้งทลายโดยประการ
ทั้งปวง อันมีในเบื้องหน้า ชื่อว่าอนุปาทิ-
เสสะ ชนเหล่าใดรู้บทอันปัจจัยไม่ปรุงแต่ง
แล้วนี้ มีจิตหลุดพ้นแล้วเพราะสิ้นตัณหา
เครื่องนำไปสู่ภพ ชนเหล่านั้นยินดีแล้วใน
นิพพานเป็นที่สิ้นกิเลส เพราะบรรลุธรรม
อันเป็นสาระ เป็นผู้คงที่ ละภพได้ทั้งหมด.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า
ได้สดับมาแล้ว ฉะนั้นแล.
จบธาตุสูตรที่ 7

อรรถกถาธาตุสูตร


ในธาตุสูตรที่ 7 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า เทฺวมา ตัดบทเป็น เทฺว อิมา. ตัณหาท่านเรียกว่า วานะ.
ชื่อว่า นิพพาน เพราะออกจากตัณหา หรือเป็นที่ไม่มีตัณหา หรือเมื่อ
บรรลุนิพพานแล้วตัณหาไม่มี. ชื่อว่า นิพพานธาตุ เพราะนิพพานนั้นชื่อว่า
ธาตุ เพราะอรรถว่า ไม่มีสัตว์ ไม่มีชีวะ และเพราะอรรถว่า เป็นสภาพทั่วไป.
แม้ผิว่า นิพพานธาตุนั้นไม่ต่างกันโดยปรมัตถ์ แต่ปรากฏโดยปริยาย
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เทฺวมา ภิกฺขเว นิพฺพานธาตุโย
ดังนี้ ทรงหมายถึงความต่างกันโดยปริยายนั้น เพื่อทรงแสดงถึงประเภทตาม
พระประสงค์ จึงตรัสคำมีอาทิว่า สอุปาทิเสสา ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น ขันธบัญจกชื่อว่า อุปาทิ เพราะให้เกิดโดยความเป็น
ผลจากกิเลสทั้งหลายมีตัณหาเป็นต้น. อุปาทิที่เหลือชื่อว่า อุปาทิเสสะ. ชื่อ
ว่า อุปาทิเสสา เพราะพร้อมกับอุปาทิเสสะ. เพราะความไม่มีสอุปาทิเสสะ
นั้น จึงชื่อว่า อนุปาทิเสสา
บทว่า อรหํ ได้แก่ ไกลจากกิเลส อธิบายว่า มีกิเลสอยู่ไกล. สมดัง
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า กถญฺจ ภิกฺขเว ภิกฺขุ อรหํ โหติ
อารกาสฺส โหนฺติ ปาปกา อกุสลา ธมฺมา สํกิเลสิกา โปโนพฺภวิกา
สตรีา ทุกฺขวิปากา อายตึ ชาติชรามรณิยา เอวํ โข ภิกฺขเว อรหํ
โหติ
ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าเป็นอรหันต์ นั้นอย่างไร
ภิกษุนั้นเป็นผู้ไกลจากอกุศลธรรมอันลามก ความเศร้าหมอง การมีภพใหม่
ความกระวนกระวาย วิบากแห่งทุกข์ ชาติชรามรณะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย